วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ที่มาของเรื่อง มหาเวสสันดร

ลักษณะคำประพันธ์

ความเรียงร้อยแก้ว  ร่ายยาว  กลบท  กลอนพื้นบ้าน
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้ในการสวด  เทศนาสั่งสอน

ความเป็นมา
เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่ 
๑๐ เรื่อง
ที่เรียกกันว่า  ทศชาติ  แต่อีก ๙ เรื่อง  ไม่เรียกว่ามหาชาติ  คงเรียกแต่เวสสันดรชาดก
เรื่องเดียวว่า  มหาชาติ  ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
โปรดประทานอธิบายว่า  พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่า
เรื่องมหาเวสสันดรชาดก  สำคัญกว่าชาดกอื่น ๆ ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์
ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง 
๑๐ บารมี

อานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาติ  การตั้งใจฟังเทศน์มหาชาติให้จบเพียงวันเดียวครบบริบูรณ์  
ทั้ง ๑๓ กัณฑ์จะเป็นเหตุให้สำเร็จความปรารถนาทุกประการดังนี้
          ๑.  เมื่อตายจากโลกนี้แล้ว  จะมีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้า  พระนามว่า 

 ศรีอริยเมตไตย  ในอนาคต
          ๒.  เมื่อดับขันธ์ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์  จะเสวยทิพยสมบัติมโหฬาร
          ๓.  เมื่อตายไปแล้วจะไม่ตกนรก
          ๔.  เมื่อถึงยุคพระพุทธเจ้าพระนามว่า  ศรีอริยเมตไตย  

จะได้จุติไปเกิดเป็นมนุษย์
          ๕.  ได้ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธองค์ จะได้ดวงตาเห็นธรรม

เป็นพระอริยบุคคล  ในบวรพุทธศาสนา

มูลเหตุการณ์เล่าเรื่องมหาชาติ
          คัมภีร์ธัมมบทขุททกนิกายกล่าวว่า  เรื่องเวสสันดรชาดกเป็นพุทธดำรัส

ที่สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ขีณาสพสองหมื่นรูปและพระประยูรญา
ติที่นิโครธารามหาวิหารในนครกบิลพัสดุ์  ในคราวเสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา 
 และพระวงศ์ศากยะบรรดาพระประยูรญาติไม่ปรารถนาจะทำความเคารพพระองค์  
ด้วยเห็นว่าอายุน้อยกว่าพระองค์ทรงทราบความคิดนี้จึงทรงแสดงยมกปกฏิหาริย์ 
 โดยเสด็จขึ้นเบื้องนภาอากาศแล้วปล่อยให้ฝุ่นละอองธุลีพระบาทตกลงสู่เศียร
ของพระประยูรญาติทั้งหลาย  พระประยูรญาติจึงได้ละทิ้งทิฐิแล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้า 
 ขณะนั้นได้เกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์จึงได้ทูลถาม 
 พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีตแล้วจึงทรงแสดงธรรม
เรื่องมหาเวสสันดรชาดก  หรือเรื่องมหาชาติให้แก่พระภิกษุและพระประยูรญาต
 มหาเวชสันดรชาดก  เป็นชาดกที่มีความสำคัญมากกว่าชาดกอื่น ๆ
เพราะพระบารมีของพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบริบูรณ์ในพระชาตินี้  มหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๐ บารมี 

ทานบารมี  = ทรงบริจาคทรัพย์สิน  ช้าง  ม้า  ราชรถ  พระกุมารทั้งสองและพระมเหสี
ศีลบารมี  = ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต
เนกขัมมบารมี  = ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต
ปัญญาบารมี  = ทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช
วิริยาบารมี  = ทรงปฏิบัติมิได้ย่อหย่อน
สัจจบารมี  = ทรงลั่นพระวาจายกกุมารให้ชูชก  เมื่อพระกุมารหลบหนีก็ทรงติดตามให้
ขันติบารมี  = ทรงอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ขณะที่เดินทางมายังเขาวงกต  

และตลอดเวลาที่ประทับ ณ ที่นั่น  แม้แต่ตอนที่ทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระ
กุมารอย่างทารุณพระองค์ก็ทรงข่มพระทัยไว้ได้
เมตตาบารมี  = เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์  มาทูลขอช้างปัจจัยนาค  

เนื่องจากเมืองกลิงคราษฎร์ฝนแล้ง  ก็ทรงพระเมตตตาประทานให้  
และเมื่อชูชกมาทูลขอสองกุมาร  อ้างว่าตนได้รับความลำบากต่าง ๆ
 พระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วย
อุเบกขาบารมี  = เมื่อทรงเห็นสองกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตี  วิงวอนให้พระองค์ช่วยเหลือ

  ทรงบำเพ็ญอุเบกขา  คือทรงวางเฉย  เพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไปแล้ว
อธิษฐานบารมี  = คือทรงตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สำเร็จโพธิญาณาเบื้องหน้าก็มิได้ทรงย่อท้อ  
จนพระอินทร์ต้องประทานความช่วยเหลือต่าง ๆ เพราะพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์

เนื้อเรื่อง
          หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหารย์  

ทำให้พระประยูรญาติละทิฐิยอมถวายบังคม  ก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษ 
 พระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า  
ฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก 
  หรือเรื่องมหาชาติ  ทั้ง ๑๓ กัณฑ์  ตามลำดับ
(อ่านต่อในโพตส์ต่อไป)

กัณฑ์ที่ ๑ กัณฑ์ทศพร


ความย่อ
กล่าวถึงเหตุที่จะมีเรื่องเวสสันดรชาดกขึ้นกับเล่าเรื่องพระนางผุสดีในอดีตจ

นถึงทูลขอพร ๑๐ ประการ จากท้าวมัฆวารผู้ภัสดาพระนางผุสดีได้รับพรทิพย์ ๑๐ ประการ 
ในวันจะเกิดมาเป็นมารดาของพระเวสสันดร ณ เมืองสีพีราษฎร์

เนื้อเรื่อง
เมื่อครั้งอดีตกาลที่ล่วงมานครสีพีรัฐบุรีนั้นมีพระราชาพระนามสีพีราช

 ทรงครองเมืองโดยทศพิธราชธรรมพระราชาทรงยกบัลลังก์ให้พระโอร
สขึ้นเสวยราชย์แทน เมื่อเจริญวัยสมควรแล้
วพระราชโอรสมีพระนามว่า"สัญชัย" และได้อภิเษกกับพระนางผุสดี
พระธิดาแห่งราชากรุงมัททราช
พรจากภพสวรรค์แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสี
ของพระอินทร์เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอกัณฑ์ทศพร
จากพระอินทร์ได้ ๑๐ ข้อทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดง
ถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้าและอธิฐานให้ได้เกิดเป็นมารดา
พระพุทธเจ้าด้วย พร ๑๐ ข้อนั้นมีดังนี้
๑.ขอให้เกิดในกรุงมัททราช แคว้นสีพี
๒.ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย
๓.ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง
๔. ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม
๕.ขอให้มีพระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป
๖. ขอให้พระครรภ์งามไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ
๗. ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง
๘.ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ
๙.ขอให้ผิดพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ
๑๐.ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้

อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์ทศพร ผู้นั้นจะได้รับทรัพย์สมบัติดังปรารถนาถ้าเป็น

สตรีจะได้สามีเป็นที่ชอบเนื้อเจริญใจบุรุษจะได้ภรรยาเป็นที่ต้องประสงค์
อีกเช่นเดียวกันจะได้บุตรหญิงชายเป็นคนว่านอนสอนง่ายมีรูปกายงดงามมี
ความประพฤติดีกิริยาเรียบร้อยทุกประการฯ

ข้อคิดประจำกัณฑ์
การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์ต้องอธิษฐานจิตตั้งเป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนาไว้

 ความปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์ กล่าวคือ
๑. ต้องกระทำความดี
๒.ต้องรักษาความดีนั้นไว้
๓. หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น

กัณฑ์ที่ ๒ กัณฑ์หิมพานต์

ความย่อ
         กล่าวถึงปฏิสนธิพระนาง ไปจนถึงพราหมณ์เมือง
กลิงครัฐ ๘ คน มาทูลขอพญาช้างปัจจัยนาคจากพระเวส
สันดรพระเวสสันดรพระราชทานให้ทำให้ชาเมืองแค้นเคืองใจ
พากันเดินขบวนประท้วงทูลพระราชบิดาให้เนรเทศ
พระเวสสันดรไปอยู่เขาวงกตหรือประหารด้วยท่อนจันทน์

เนื้อเรื่อง
ได้มาเกิดเป็นอัครชายาของพระราชาแคว้นสีพีรัฐสมดั่ง

คำพระอินทร์นั้นพระนางยังมีพระสิริโฉมงดงามตามคำพรอีกด้ว
ย ครั้งเมื่อทรงพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือนพระอินทร์ก็ทูลอาราธนา
พระโพธิสัตว์มาจุติในครรภ์พระนางประสูติพระกุมารวันหนึ่ง
พระนางผุสดีทรงทูลขอพระราชาประพาสพระนครเมื่อขึ้นสีวิกา
เสลี่ยงทองเสด็จสัญจร ไปถึงตรอกทางของเหล่าพ่อค้าก็
เกิดปวดพระครรภ์และทรงประสูติพระราชาโอรสกลางตรอกนั้น 
พระราชกุมารจึงได้พระนามว่า "เวสสันดร" ในวันที่พระราชกุมาร
ทรงประสูติพญาช้างฉัททันต์ได้นำลูกช้างเผือกเข้ามาในโรง
ช้างต้นช้างเผือกคู่เผือกคู่บารมีนั้นมีนามว่า "ปัจจัยนาเคนทร์"
 พระราชกุมารเวสสันดรทรงบริจาคทานตั้งแต่ ๔-๕ ชันษา 
ทรงปลดปิ่นทองคำและเครื่องประดับเงินทองแก้วเพชรให้แก่นางสนมกำนัลทั่วทุกคนถึง ๙ ครั้ง
เพื่อมุ่งหวังพระโพธิญาณภายภาคหน้า เมื่อทรงเจริญชันษาได้ ๙ ปีก็ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่าจะบริจาค
เลือดเนื้อและดวงหทัยเพื่อมุ่งพระโพธิญาณในกาลข้างหน้าอย่างแน่วแน่ครั้นถึงวัย ๑๖ พรรษา
ก็แตกฉานในศิลปวิทยา ๑๘ แขนง ทรงได้ขึ้นครองราชย์และอภิเษกกับพระนางมัทรีและมี
พระโอรสกับพระธิดาพระนามว่า “ชาลีกุมาร และ “กัณหากุมารี” อันหมายถึงห่วงทองบริสุทธิ์เวลา
อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์หิมพานต์ย่อมได้สิ่งปรารถนาทุกประการครั้นตายแล้วได้ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์

 เสวยสมบัติอันมโหฬารมีบริวารแวดล้อมบำรุงบำเรออยู่เป็นนิตย์จุติจากสวรรค์แล้วจะลงมาเกิด
ในตระกูลขัตติยะมหาศาล หรือตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคาร
 บริวารมากมายนานาประการ เช่น โค กระบือ ช้าง ม้า รถยานพาหนะจะนับจะประมาณมิได้
ประกอบด้วยสุขกายสบายใจทุกอิริยาบถฯ

ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑.คนดีเกิดมานำพาโลกให้ร่มเย็น
๒. โลกต้องการผู้เสียสละมิฉะนั้นหายนะจะบังเกิด
๓. การทำดีย่อมมีอุปสรรค "มารไม่มีบารมีไม่มามารยิ่งมาบารมียิ่งแก่กล้า"
๔. จุดหมายแห่งการเสียสละอยู่ที่พระโพธิญาณมิหวั่นไหวแม้จะได้รับทุกข์

กัณฑ์ที่ ๓ กัณฑ์ทานกัณฑ์


ความย่อ
         กล่าวถึงพระราชมารดา รับอาสาไปทูลวิงวอนขอโทษ
พระเจ้ากรุงสัญชัยให้ทรงลดหย่อนผ่อนโทษแต่ไม่สำเร็จ 
จากนั้นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญมหาทาน
 เรียกว่า "สัตตสดกมหาทาน" แล้วทูลลาพระชนกชนนี 
ทรงขึ้นราชรถเวียนรอบเมือง มีพราหมณ์ ๔คนมาทูลขอม้า
และราชรถพระองค์ก็เปลื้องปลดพระราชทานให้

เนื้อเรื่อง
          พระเจ้ากรุงสัญชัยจำต้องเนรเทศพระราชโอรสด้วย

เสียพระทัยนักพระนางผุสดีทูลขออภัยโทษก็มิเป็นผลสำเร็จ
 พระเวสสันดรทูลลาพระมารดาพระบิดาและขอบริจาคทาน
ให้พิธีสัตตสตกมหาทาน คือ ช้าง ม้า โคนม รถม้า ทาสและทาสี
 อย่างละ๗๐๐ บริจาคให้คนทั่วไปสัตตสตกมหาทานนั้น 
คือ ช้าง ๗๐๐ เชือก ม้า ๗๐๐ ตัว โคนม๗๐๐ ตัว รถม้า ๗๐๐ คั
 นารี ๗๐๐ นาง ทาส ๗๐๐ คน ทาสี ๗๐๐ คน ผ้าอาภรณ์ ๗๐๐ชิ้น
 เสด็จออกจากนครพระนางมัทรีพาพระโอรสและพระธิดาตามเสด็
ออกป่าด้วยมิทรงยอมอยู่ในวังแม้พระเวสสันดรจะยับยั้งห้ามปรามมิให้มาตกระกำลำบากด้วยกันในป่า
ระหว่างทางที่เสด็จขึ้นราชรถทองไปนั้นมีพราหมณ์วิ่งมาทูลขอม้าบ้าง ขอราชรถบ้าง พระเวสสันดรก็ยก
ให้ทั้งสิ้นในที่สุดจึงต้องทรงอุ้มพระโอรสและพระธิดาเสด็จเข้าป่าไป

อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์ทานกัณฑ์จะบริบูรณ์ด้วยแก้วแหวนเงินทอง ทาส ทาสี 

และสัตว์สองเท้าสี่เท้าครั้นตายแล้วจะได้ไปเกิดในฉกามาพจรสวรรค์
 มีนางเทพอัปสรแวดล้อมมากมายเสวยสุขอยู่ในปราสาทสร้างด้วยแก้ว ๗ ประการ

ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑.ความรักของแม่ ความห่วงของเมีย
๒.โทษทัณฑ์ของการเป็นหม้าย คือถูกประนามหยามหมิ่นอาจถึง

จบชีวิตด้วยการก่อกองไฟให้รุ่งโรจน์แล้วโดดฆ่าตัวตาย
๓.เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม พึงยอมเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว
๔. ยามบุญมีเขาก็ยกยามตกต่ำเขาก็หยาม ชีวิตมีทั้งชื่นบานและขื่นขม

กัณฑ์ที่ ๔ กัณฑ์วนประเวศน์

ความย่อ
กล่าวถึงพระเวสสันดร มัทรี ชาลี กัณหา เสด็จมุ่งสู่ป่าเขาคีรีวงกต 

โดยอาศัยไมตรีจิตมิตรกษัตริย์ เมืองเจตราชทูลระยะทาง จนกระทั่งถึง
 ทั้งสี่พระองค์ทรงบำเพ็ญพรตอยู่ในนั้นเป็นเวลา ๗ เดือน 
กษัตริย์เจตราชแต่งตั้งพรานเจตบุตรเป็นผู้อยู่คอยพิทักษ์รักษาสวัสดิภาพของพระเวสสันดร
เนื้อเรื่อง
เมื่อเสด็จด้วยพระบาทถึงเมืองเจตรัฐ พระราชาเสด็จมาต้อนรับและทูลเชิญให้ครองเมืองเจตรัฐนั้น

 แต่พระเวสสันดรขอไปบำเพ็ญเพียรในป่า กษัตริย์เจตรัฐจึงรับสั่งให้เจตบุตรคอยอารักขาในป่า
 และถวายน้ำผึ้งและเนื้อให้พระเวสสันดรด้วย เมื่อพระเวสสันดรเดินทางมาถึง
เขาวงกต พระนางมัทรีและชาลีกุมาร กัณหากุมารีต่างก็เหน็ดเหนื่อยสะอื้นไห้ด้ว
ความลำบากยากเข็ญ พระเวสสันดรจึงทรงเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นนุ่งห่มของนักบวช 

อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์เทศน์วนประเวศน์จะได้รับความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า

 จะได้เป็นบรมกษัตริย์ในชมพูทวีปเป็นผู้ทรงปรีชา เฉลียวฉลาด 
สามารถปราบอริราชศัตรูให้ย่อยยับไปฯ

ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ยามเห็นใจ ยามจน ยามเจ็บ ยามจากเป็นยามที่ควรจะได้รับความเหลียวแล
๒. ผลดีของมิตรแท้ คือ ไม่ทอดทิ้งในยามเพื่อนทุกข์ ช่วยอุ้มชูยามเพื่อนอ่อนล้า

 ช่วยฉุดดึงยามเพื่อนตกต่ำ
๓. น้ำใจของคนดี หากรู้ชัดว่าปกติสุขของคนส่วนมากจะตั้งอยู่ได้

 เพราะการเสียสละของตน ก็สมัครสลัดโอกาสและโชคลาภอันจะพึงได้ ด้วยความชื่นชม

กัณฑ์ที่ ๕ กัณฑ์ชูชก

ความย่อ
กล่าวถึงเฒ่าชราตาชูชก ได้เร่ร่อนขอทาบแล้วนำเงินไปฝากเพื่อนไว้ แต่เพื่อนก็นำเงินไปใช้จนหมด

 เมื่อชูชกไปทวงจึงไม่มีจะให้ จึงยกนางอมิตตดาธิดาสาวให้แทน นางปฏิบัติต่อสามีดี
 จนเป็นเหตุให้พราหมณีเพื่อนบ้านพากันอิจฉาด่าว่าตบตี เลยไม่ยอมทำงานนอก
 และแนะให้เฒ่าชูชกไปทูลขอสองกุมารมาเป็นข้าทาสรับใช้
เนื้อเรื่อง
ชูชก ขอทานเฒ่าอีกด้านหนึ่งนั้น พราหมณ์นาม "ชูชก" ได้เที่ยวขอทานเก็บเงิน

ได้ถึง ๑๐๐ กษาปณ์จึงนำเงินไปฝากเพื่อนไว้พลางคุยอวดเศรษฐีอย่างปีตินัก
 จากนั้นก็ออกเดินทางตระเวนขอเงินสืบไปส่วนพราหมณ์ผัวเมียเก็บเงินไว้นานแล้ว
 เห็นว่าชูชกไม่มาเอาสักที คิดว่าชูชกคงจะตายไปแล้ว 
จึงชวนกันนำเงินนั้นออกมาใช้จ่ายเสียจนหมดทั้งสิ้น ครั้นชูชกหวนกลับมาทวงเอาเงิน
 สองผัวเมียก็ตกใจงันงกมิรู้จะทำประการใด ด้วยความที่กลัวชูชกจะเอาความ
 จึงตกลงจะยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชกแทนเงินที่ใช้หมดไป 
อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์ชูชกจะได้บังเกิดในตระกูลกษัตริย์ ประกอบด้วยสมบัติ 

อันงดงามกว่าชนทั้งหลายจะเจรจาปราศรัยก็ไพเราะเสนาะโสต 
๑.ของที่รักและหวงแหน ที่โบราณห้ามฝากผู้อื่นไว้คือ เงิน ม้า เมีย 
ยิ่งน้องเมียห้ามฝากเด็ดขาด อันตรายมาก
๒.ภรรยาที่ดีย่อมไม่ย่อหย่อนต่อหน้าที่ ข้าวดำ น้ำตัก ฟืนตอหักหา 

น้ำร้อน น้ำชาเตรียมไว้เสร็จ
๓.ของไม่คู่ควรย่อมมีปัญหา ตำราหิโตปเทศกล่าวว่า 

"ความรู้เป็นพิษเพราะเหตุที่ไม่ใช้ อาหารเป็นพิษเพราะเหตุไฟธาตุไม่ย่อย เมียสาวเป็นพิษเพราะผัวแก"